ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การ์ตูนดิสนีย์รูป


ประวัติเดอะวอลต์ดิสนีย์

เดอะวอลต์ดิสนีย์ ก่อตั้งเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2466 (ค.ศ. 1923) ในชื่อ "ดิสนีย์บราเธอส์คาร์ตูนสตูดิโอ" (Disney Brothers Cartoon Studio) โดยสองพี่น้องดิสนีย์ วอลต์ ดิสนีย์ และ รอย ดิสนีย์ หลังจากที่ทั้งคู่ได้ทำสัญญากับ เอ็ม. เจ. วิงเกลอร์ ผู้จัดจำหน่ายภาพยนตร์ในฮอลลีวูด โดยซ็นสัญญาการ์ตูนชุด อลิซคอเมดีส์ (Alice Comedies) ที่วอลต์ได้เริ่มทำเมื่อสมัยที่ทำภาพยนตร์ที่แคนซัสซิตี หลังจากบริษัทก่อตั้งได้ระยะหนึ่ง บริษัทได้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น "วอลต์ดิสนีย์สตูดิโอ" (Walt Disney Studio)
หลังจากสี่ปีที่ได้เปิดบริษัทมา วอลต์มีไอเดียสร้างตัวละครขึ้นมาใหม่ ซึ่งได้แก่ ออสวอลด์ เดอะ ลักกีแรบบิต (Oswald the Lucky Rabbit) แต่ทว่าเมื่อผ่านไปหนึ่งปี ทางผู้จัดจำหน่ายได้หยุดการให้ทุนวอลต์ดิสนีย์ แต่ได้นำตัวละครออสวอลด์ไปสร้างต่อกับบริษัทอื่นแทน ทำให้วอลต์จำเป็นต้องหาทุนถ่ายทำใหม่รวมถึงสร้างตัวละครการ์ตูนขึ้นมาใหม่ วอลต์ได้นำหนูมาเป็นตัวละครและตั้งชื่อให้ว่า มอร์ติเมอร์ (Mortimor) แต่ภรรยาของเขาแนะนำให้ใช้ชื่อ มิกกี (Mickey) แทน ซึ่งในตอนที่สามของการ์ตูนชุดในชื่อ สตีมโบตวิลลี (Steamboat Willie) นี้ วอลต์ได้นำเสียงประกอบมาใช้ในการ์ตูน และ ได้ออกฉายเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2471 ที่โรงละครโคโลนีในนิวยอร์ก ซึ่งได้รับการต้อนรับมากมายจากผู้ชมและนักวิจารณ์ ซึ่งเป็นก้าวแรกของความสำเร็จของวอลต์ดิสนีย์ ต่อมาวอลต์ได้สร้างการ์ตูนชุดใหม่ในชื่อ ซิลลีซิมโฟนีส์ (Silly Symphonies) โดยฟลาเวอรส์แอนด์ทรีส์ในชุดนี้เป็นการ์ตูนรื่องแรกของดิสนีย์ที่ได้รับรางวัลออสการ์
ในปี พ.ศ. 2498 วอลต์ได้เปิดสวนสนุกในชื่อดิสนีย์แลนด์รีสอร์ต
ที่มา  https://www.google.co.th/search
ตัวอย่างเช่น
สโนว์ไวท์กับคนแคระทั้งเจ็ด (อังกฤษSnow White and the Seven Dwarfs) คือภาพยนตร์อเมริกาออกฉายเมื่อปี พ.ศ. 2480 มีโครงเรื่องจากนวนิยายเรื่อง สโนว์ไวต์ ผลงานการประพันธ์ของพี่น้องตระกูลกริมม์ เป็นการผลิตในรูปแบบภาพยนตร์การ์ตูนเต็มรูปแบบครั้งแรกของวอลท์ดิสนีย์และเป็นภาพยนตร์การ์ตูนเรื่องยาวเรื่องแรกในประวัติศาสตร์ภาพยนตร์อเมริกา
สโนว์ไวต์กับคนแคระทั้งเจ็ด ณ โรงละคร Carthay Circle ในวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2480 ต่อมาได้จัดจำหน่ายโดย RKO Radio Pictures เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2481 เรื่องราวของเรื่องปรับปรุงมาจากแผ่นป้ายเรียบเรียงฉาก ของ Ann Blank, Richard Creedon, Merrill De Maris, Otto Englander, Earl Hurd, Dick Rickard, Ted Sears และ Webb Smith จากนวนิยายเยอรมันเรื่อง สโนว์ไวต์ ของพี่น้องตระกูลกริมม์ เดวิด แฮนด์เป็นผู้อำนวยการผลิต ส่วน William Cottrell, Wilfred Jackson, Larry Morey, Perce Pearce และ Ben Sharpsteen กำกับลำดับภาพ
สโนว์ไวต์กับคนแคระทั้งเจ็ด เป็นหนึ่งใน 2 ภาพยนตร์การ์ตูนที่ติดอันดับภาพยนตร์อเมริกาที่ยิ่งใหญ่ที่สุด 100 เรื่อง จากสถาบันภาพยนตร์สหรัฐอเมริกาในปี พ.ศ. 2540 (อีกเรื่องหนึ่งคือ แฟนเทเชีย) โดยอยู่ในอันดับที่ 49 และอีก 10 ปีต่อมา (พ.ศ. 2550) ภาพยนตร์เรื่องนี้ขึ้นสู่ดันดับที่ 34 และในปีต่อมาภาพยนตร์เรื่องนี้ได้เข้าเป็นหนึ่งในภาพยนตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล
เนื้อเรื่องย่อ
กาลครั้งหนึ่งในดินแดนสุดมหัศจรรย์ ยังมีองค์หญิงน้อยแสนงามผู้มีผมดำดุจไม้มะเกลือ ริมฝีปากแดงดั่งกุหลาบและมีผิวขาวผ่องดังหิมะ เธอคือสโนไวท์ ผู้ที่รู้จักเธอล้วนรักเธอเว้นแต่ราชินีแม่เลี้ยงใจร้ายผู้ริษยาในความงามของเธอสโนไวท์อาศัยอยู่ในดินแดนมหัศจรรย์ที่มีน้ำตกเจ็ดชั้นและภูเขาอัญมณีเจ็ดลูกที่ภายในมีอัญมณีเลอค่ามากมาย ภูเขาที่อยู่ห่างไกลที่สุดเป็นที่ตั้งของปราสาทที่สโนไวท์เติบโตมาภายใต้อำนาจของราชินี
ถึงแม้ว่าความปรารถนาที่จะมีรักแสนหวานของเธอจะดูเป็นไปไม่ได้แต่ความรักก็สามารถหาทางของมันได้เสมอแม้ว่าเสื้อผ้าที่ขาดรุ่งริ่งก็ยังไม่สามารถห้ามให้เจ้าชายหลงรักสโนไวท์ได้
ราชินีเกรงว่าสักวันสโนไวท์จะเติบโตและงดงามกว่าพระนาง ด้วยเหตุนี้พระนางจึงใช้ให้สโนไวท์ทำงานหนักดั่งทาส และเมื่อกระจกวิเศษเผยแก่ราชินีว่าสโนไวท์งดงามกว่าพระนาง ชีวิตของสโนไวท์ก็ตกอยู่ในอันตราย จนกระทั่งเธอได้พบเพื่อนตัวเล็กๆทั้งเจ็ดคนที่ช่วยเหลือเธอไว้
สโนไวท์วิ่งหนีใปในป่ามืด ดูเหมือนว่าต้นไม้เกิดมีชีวิตและพยายามจะฉุดรั้งสโนไวท์เอาไว้ เธอเหนื่อยล่าและหวาดกลัวจนกระทั่งหมดแรงและล้มลงกลางป่า แล้วสิ่งที่ทำให้เธอมีชีวิตชีวาอีกครั้งก็คือเสียงเพลงและรอยยิ้ม
ระหว่างที่สโนไวท์กำลังทำกูซเบอร์รี่พายของโปรดของเหล่าคนแคระ แม่ค้าเร่ก็เข้ามาคะยั้นคะยอเธอให้ทำแอปเปิ้ลพายด้วยลูกแอปเปิ้ลสีแดงสดในมือนาง และเมื่อสโนไวท์อธิษฐานต่อแอปเปิ้ลเธอกัดมันและสลบลงไปนอนกองกับพื้นทันที!
หลังจากผ่านไป 3 คืน สโนว์ไวท์ก็ตื่นขึ้นมาเจอเจ้าชาย เจ้าชายได้จุมพิตนางทำให้นางฟื้นขึ้นมา และต่อสู้กับราชินีจนทำให้ราชินีตาย ทำให้ต่อมาทุกคนอยู่อย่างเป็นสุข

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ประวัติส่วนตัว